30 มีนาคม, 2564

ระบบ AS/RS

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ AS/RS

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

                               ( Automated Storage/Retrieval System หรือเรียก AS/RS )

 

ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค้า

               ระบบเทคโนโลยีเพื่อการจัดการคลังสินค้า นอกจากจะใช้ระบบซอฟแวร์ในการบริหารคลังสินค้าแล้ว ปัจจุบันทุกคลังสินค้าได้นำระบบ Barcode มาใช้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมากในเรื่องการลดความผิดพลาด สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจเช็คสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนนับ ลดความผิดพลาดในการทำงานได้มาก นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้าสมัยใหม่เป็นจำนวนมากที่เริ่มนำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าให้สะดวก และรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจากการทำงาน สามารถสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนจากการทำงาน ระบบเทคโนโลยีที่ใช้กับคลังสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้

                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมคุมเครื่อง

                          2. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง

                          3. ระบบฐานข้อมูล (Database System)

                          4. เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า

   โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญของระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ดังนี้

                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมควบคุมเครื่อง ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

                           1.1 Computer Aided Design (CAD) หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดความสูญเสียและเสียหายในส่วนงานขององค์การ ใช้มากในกระบวนการผลิต

                           1.2 Computer Aided Manufacturing (CAM) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมเครื่องจักรและเครื่อง มือต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในกระ บวนการผลิตแต่ละจุด ช่วยในการวางผังในกระบวนการ ระบบการใช้ในปัจจุบันจะใช้เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการผลิตกับการจัดซื้อ การจัดเก็บรักษา และสินค้าคงคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล และเหมาะสม

                        1.3 ระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ AS/RS (Automatic Storage & Retrieval System) เป็นวิธีการควบคุมทางคอมพิวเตอร์สำหรับการเก็บ และการนำเอาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาจากสถานที่จัดเก็บ

 

                       1.4 ระบบควบคุมพาหนะนำทางอัตโนมัติ AGVs (Automated guided vehicles) เป็นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานของพาหนะทำงานอัตโนมัติ ที่เชื่อมต่อกับระบบขนถ่ายอื่น ๆ เช่น สายพาน การนำทางพาหนะสามารถใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์ การฝังสายไฟใต้พื้น หรือฝังแม่เหล็กลงในพื้นคลังสินค้าและควบคุมการทำงานของพาหนะที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ พาหนะเหล่านี้เป็นรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าไม่ใช้คนขับ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานตามคำสั่งด้วยระบบคลื่นวิทยุ หรือการฝังสายใต้พื้น อุปกรณ์ควบคุมจะจับสัญญาณบนพาหนะว่ามีการเคลื่อนที่ตามกำหนดหรือไม่ สัญญาณจะถูกส่งไปยังมอเตอร์พวงมาลัยเพื่อบังคับทิศทางให้สามารถไปหยิบสินค้าจากสถานที่จัดเก็บไปส่งยังสถานที่ที่กำหนดระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

 

              ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ

      ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

                   ภาพประกอบ




วิดีโอประกอบ


ข้อดีของระบบ AS/RS

                 Automated Storage and Retrieval System เป็นระบบที่สามารถรับและจัดเก็บสินค้าเข้าคลังได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ลดระยะเวลาการทำงาน และลดจำนวนพนักงานงานในการจะเก็บสินค้า ระบบ AS/RS จะคำนวณการจัดเก็บสินค้าที่มีอัตราการเคลื่อนไหวสูงไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการหยิบ อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหายในการขนย้ายสินค้า และช่วยจัดเรียงสินค้าให้เป็นระบบและระเบียบมากขึ้น ระบบสามารถนำไปใช้ร่วมกับ โปรแกรมระบบจัดการในคลังสินค้า (Warehouse Management System Software,

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

                    เพิ่มความรวดเร็วในการคัดแยกสินค้า, ลดเวลาการทำงานและลดงานที่ซ้ำซ้อน, คัดแยกถูกต้องแม่นยำ100%, ประหยัดพื้นที่คัดแยกสินค้า

                    ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงาน

                    ระบบ AS/RS เหมาะกับงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ  ที่มีการขนถ่ายสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแม่นยำและประหยัดพลังงานคนในการขนย้าย


23 มีนาคม, 2564

สายพานลำเลียงและรถagv

 ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

 ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้

                                                   ตัวอย่างการทำงาน

 



 รถ AGV

(Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) 

 รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาทีรถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGVทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ รูปภาพประกอบ รถAGV


ตัวอย่างการทำงาน




หุ่นยนต์

 

1. หุ่นยนต์ Foldimate Inc. (Laundry)

คือหุ่นยนต์พับผ้า ใช่แล้ว หน้าที่ของมันคือการพับเสื้อให้ออกมาสวยเนี้ยบ มีระเบียบและเท่ากันทุกตัว สตาร์ทอัพที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องเล็กๆ และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน มีขนาดประมาณตู้เสื้อผ้า พับแล้วยังพรมน้ำหอมลงไปด้วย สำหรับคนที่มองว่าเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยจนเกินไป เครื่องนี้ยังเอาไว้ใช้ในร้านขายเสื้อโดยไม่ต้องเสียเงินจ้างพนักงานมาพับอีกต่อไปแล้ว



ตัวอย่างการทำงาน





2.  หุ่นยนต์ Telepresence

เป็นหุ่นยนต์ที่แพทย์นำมาใช้ในการตรวจอาการ, ซักประวัติ, และให้คำแนะนำในการรักษาคนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในชนบท เป็นต้น ได้แบบ real timeสย

Dr. Bernadette Keefe ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแพทย์และสุขภาพ กล่าวว่า "แพทย์สามารถใช้หุ่นยนต์ Telepresence ในการโทรหาคนไข้เพื่อตอบคำถามและให้คำแนะนำในการรักษาให้กับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ โดยหุ่นยนต์เหล่านี้มี feature เด่นๆคือ การสำรวจความพร้อมใช้งานของห้องผ่าตัด และมีกล้องที่ใช้ในการตรวจสุขภาพของผู้ป่วย"




ตัวอย่างการทำงาน


3. หุ่นยนต์ handle

หุ่นยนต์อัจฉริยะที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ที่คล่องแคล่วว่องไว สามารถไปได้ทุกพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางได้อีก

เจ้าหุ่นยนต์ Handle นี้เป็นหุ่นยนต์ที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา มีความสูงประมาณ 2 เมตร วิ่งทำความเร็วได้ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถกระโดดได้สูงถึง 1.2 เมตรเลยทีเดียว

เจ้า Handle นี้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เพื่อกระตุ้นพลังงานไฟฟ้าและระบบไฮโดรลิค ในการชาร์ตแบตเตอรี่เพียง 1 ครั้งจะสามารถวิ่งได้ประมาณ 24 กิโลเมตร

หุ่นยนต์ Handle จะมีการเคลื่อนไหวในแบบเดียวกัน การทรงตัว และ การเคลื่อนที่ก็เป็นหลักการเดียวกับการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์แบบที่มีขา 4 ขา และ 2 ขา ที่ได้สร้างขึ้น

แต่ด้วยจำนวนข้อต่อที่มี 10 ข้อ ทำให้มันมีความซับซ้อนน้อยกว่าหุ่นยนต์ปกติทั่วๆ ไป ล้อของมันจะมีประสิทธิภาพกับพื้นผิวเรียบๆ ขณะที่ขาของมันมีความยืดหยุ่นและพาไปได้ทุกพื้นผิว

จากการทำงานร่วมกันระหว่างล้อและส่วนขา ทำให้มันสามารถเดินทางไปที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้!!


ตัวอย่างการทำงาน






16 มีนาคม, 2564

เครื่องจักร NC

เครื่องจักร NC

NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.







CNC คืออะไร
   

          คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป และสามารถใช้ได้หลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำ หรือมีความซับซ้อนสูง โดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่อง CNC ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดี ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด ทำให้ชิ้นงานออกมาดี











DNC คืออะไร

คือ คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวไคือ คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกันด้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน








02 มีนาคม, 2564

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

 บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

 เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีกและการค้าส่ง


        ในยุคโลกาภิวัตฒ์นั้น การเสนอขายสินค้ามิใช่แต่จะใช้พนักงานขายเท่านั้น เครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ได้ถูกนำมาใช้ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญซึ่งทางกิจการต่างก็พยายามสรรหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อแข่งขันกันเสนอขายสินค้าในระบบไฮ – เทคเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของกิจการในระยะยาว   ดีกว่าจ้างพนักงานขาย
         พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) 
หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
        รูปแบบการทำธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
                1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business:B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้
                2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer:B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
                3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to GovernmentB2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
                4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to consumer:C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย เช่น การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานขาย
         1.    เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3) คือ บริการข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia)ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ข้อความ ภาพและเสียง ประกอบกัน สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ใช้ได้ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวในแบบของภาพยนตร์
        2.    อีเมล (E-mail) คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronicmail) คือ วิธีการเขียนส่ง หรือรับข้อความผ่านทางเครือข่ายเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้า หรือบุคคลที่ติดต่อด้วย
        3.     เมลลิ่งลิสต์ (Mailing list) คือ กลุ่มของบุคคลที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน ถือเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
        4.     เว็บบอร์ด (Web Board) คือ กระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวคิดหรือพูดคุยกันในด้านการตลาด สามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนรู้จักและทราบในเรื่องที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งถือเป็นสื่อ(Medium)ชนิดหนึ่งในการประชาสัมพันธ์
        5.    โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) WAP เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้ด้วยบริการ”Mobile Commerce”โดยการบริหารจัดการเพียงครั้งเดียวก็จะสามารถได้เว็บไซต์ร้านค้าที่สามารถรับชมผ่านทุกช่องทาง และเข้าถึงลูกค้าได้โดยที่ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์และซื้อสินค้าของกิจการได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด24ชั่วโมง ได้แก่
            5.1   ดูผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Commerce)
            5.2  ดูผ่าน PDA (Personal Data Commerce)
            5.3  ดูผ่านคอมพิวเตอร์



ข้อดี
1.สามารถซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว
2.ซื้อขายกันได้โดยไม่ต้องพบกัน
3.มีช่องทางหลากหลายในการซื้อขายออนไลน์


ข้อเสีย
1.อาจมีความเสี่ยงที่จะโดนโกงหากไม่มีความน่าเชื่อถือ
2.มีความล่าช้าในการส่งของ


ระบบ AS/RS

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ AS/RS ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ                                 ( Automated Storage/...